วันพฤหัสบดีที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2553

การเมืองการปกครองในสมัยกรุง

การปกครองในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนปลาย(รัชกาลที่ 7 -  ปัจจุบัน)
 1. สมัยรัชกาลที่ 7
 1.1 สมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงตั้งที่ปรึกษาราชการแผ่นดินขึ้น 5 สภา คือ                 1) อภิรัฐมนตรีสภา เป็นสภาที่ปรึกษาราชกากรแผ่นดิน ประกอบด้วยพระบรมวงศานุวงศ์ชั้นผู้ใหญ่ ซึ่งทรงพระปรีชาสามารถและมีความชำนาญในงานราชการมาแต่ก่อน 5 พระองค์ ได้แก่ สมเด็จฯเจ้ากรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมาพระนครสวรรค์วรพินิต สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ สมเด็จฯ กรมพระยาดำราราชานุภาพ สมเด็จฯ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ
                 2) องคมนตรีสภา ช่วยทำหน้าที่บริหารประเทศ คล้ายกับรัฐสภาในปัจจุบัน สมาชิกประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิ มีความสามารถเป็นที่ไว้วางพระราชหฤทัย ทำหน้าที่เสนอความคิดเห็นในเรื่องราชการแผ่นดิน วินิจฉัยเรื่องต่างๆ ที่ทรงปรึกษา
                 3) เสนาบดีสภา ประกอบด้วยเสนาบดีประจำกระทรวง ทำหน้าที่ให้คำปรึกษาหารือเกี่ยวกับราชการกระทรวงต่างๆ
                 4) สภาป้องกันพระราชอาณาจักร ทำหน้าที่ในการติดต่อประสารงานกับกระทรวงต่างๆ คือ กระทรวงกลาโหม ทหารเรือ ต่างประเทศ มหาดไทย และพาณิชย์ เพื่อป้องกันประเทศ
                 5) สภาการคลัง มีหน้าตรวจตรางบประมาณแผ่นดิน และรักษาผลประโยชน์การเงินของประเทศ
 1.2 การจัดการปกครอง มีการจัดการปกครอง ดังนี้                1) การปกครองส่วนกลาง เนื่องจากในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ฐานะทางการเงินภายในประเทศตกต่ำอันเป็นผลมาจากเกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก รัชกาลที่ 7 จึงทรงแก้ปัญหานี้โดยใช้นโยบายดุลยภาพ คือ การตัดทอนรายจ่ายที่ไม่จำเป็น จัดงานและคนให้สมดุลกันแบะยุบตำแหน่งราชการที่ซ้ำซ้อนกัน ในการบริหารราชการส่วนกลาง เดิมสมัยรัชกาลที่ 6 มีกระทรวง 12 กระทรวง (โดยเพิ่ม 2 กระทรวง จาก 10 กระทรวงในสมัยรัชกาลที่ 5 คือ กระทรวงทหารเรือ และกระทรวงพาณิชย์) คือ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงกลาโหม กระทรวงทหารเรือ กระทรวงต่างประเทศ กระทรวงวัง กระทรวงเมือง(นครบาล) กระทรวงเกษตราธิการ กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ กระทรวงยุติธรรม กระทรวงธรรมการ กระทรวงโยธาธิการ กระทรวงพาณิชย์
                            รัชกาลที่ 7 โปรดเกล้าฯ ให้มีการแก้ไขปรับปรุงโดยยุบกระทรวงทหารเรือไปรวมกับกระทรวงกลาโหม และรวมกระทรวงโยธาธิการกับกระทรวงพาณิชย์เข้าด้วยกัน จึงเหลือเพียง 10 กระทรวง
                2)การปกครองส่วนภูมิภาค ด้วยเหตุผลทางด้านเศรษฐกิจเช่นเดียวกับการปกครองส่วนกลาง รัชกาลที่ 7 ทรงใช้นโยบายดุลยภาพโดยยุบเลิกตำแหน่งปลัดมณฑล ตำแหน่งอุปราชประจำภาค ยุบเลิกมณฑลบางมณฑล บางจังหวัดให้ลดฐานะเป็นอำเภอตามความเหมาะสมของแต่ละท้องถิ่น เช่น ยุบจังหวัดพระประแดง หลังสวน มีนบุรี สายบุรี ธัญบุรี ตะกั่วป่า หล่มสัก และรวมสุโขทัยเข้ากับสวรรคโลก
                ในสมัยรัชกาลที่ 7 ได้ทรงเริ่มทดลองการปกครองแบบเทศบาล เพื่อให้ราษฎรได้เรียนรู้การปกครองตนเอง ทรงตราพระราชบัญญัติการจัดบำรุงสถานที่ชายทะเลทิศตะวันตก เมื่อ พ.ศ.2469 โดยจัดตั้งสภาจัดบำรุงสถานที่ชายทะเลตะวันตก มีอาณาเขตตั้งแต่ตำบลชะอำไปถึงหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ การปกครองแบบเทศบาลนี้มีผลดี คือ เป็นการฝึกหัดให้ประชาชนเกิดความชำนาญในการปกครองตนเอง อันเป็นการปูพื้นฐานไปสู่การปกครองระบอบประชาธิปไตยในอนาคต
                3)การเตรียมพระราชทานรัฐธรรมนูญ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำริที่จะให้ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตย ดังจะเห็นได้จากการพระราชทานสัมภาษณ์แก่นักหนังสือพิมพ์ใน พ.ศ.2474 เมื่อคราวเสด็จพระราชดำเนินไปประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อพระองค์เสด็จนิวัติพระนคร ก็ทรงมอบหมายให้พระยาศรีวิศาลวาจา และนายเรมอนด์ สตีเวนส์ ที่ปรึกษากระทรวงการต่างประเทศพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญ แต่ที่ประชุมอภิรัฐมนตรีสภาและพระบรมวงศานุวงศ์บางพระองค์ได้กราบทูลคัดค้านว่า ยังไม่ถึงเวลาอันควรที่จะพระราชทานรัฐธรรมนูญ เพราะราษฎรยังไม่มีความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยดีพอ รัชกาลที่ 7 จึงทรงต้องเลื่อนการพระราชทานรัฐธรรมนูญออกไป จนกระทั่งเกิดการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตยในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475
 1.4 การเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตย
 สาเหตุของการเปลี่ยนแปลงการปกครอง
                1)คนรุ่นใหม่ที่ได้รับการศึกษาจากประเทศตะวันตก ได้รับอิทธิพลของลัทธิเสรีนิยม และแบบแผนประชาธิปไตยของตะวันตก จึงต้องการนำมาปรับปรุงประเทศชาติ
                2) เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ รัฐบาลไม่สามารถแก้ไขได้
                3) ประเทศญี่ปุ่นและจีนได้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองแล้ว ทำให้ประชาชนต้องการเห็นการปกครองระบอบประชาธิปไตยภายในบ้านเมืองเร็วขึ้น
                4) เกิดความขัดแย้งระหว่างพระราชวงศ์กับกลุ่มที่จะทำการเปลี่ยนแปลงการปกครองซึ่งไม่พอใจที่พระราชวงศ์ชั้นสูงมีอำนาจและดำรงตำแหน่งเหนือกว่าทั้งในราชการฝ่ายทหารและพลเรือน ทำให้กลุ่มผู้จะทำการเปลี่ยนแปลงการปกครองไม่มีโอกาสมีส่วนร่วมในการแก้ไขปรับปรุงบ้านเมือง
                5) พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ไม่อาจทรงใช้อำนาจสิทธิ์ขาดในการปกครอง ทำให้ผู้ที่จะเปลี่ยนแปลงการปกครองรู้สึกว่าพระองค์ตกอยู่ใต้อำนาจอิทธิพลขอพระราชวงศ์ชั้นสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อพระบรมวงศานุวงศ์ได้ยับยั้งพระราชดำริที่จะพระราชทานรัฐธรรมนูญ ก็ทำให้เกิดความไม่พอใจพระบรมวงศานุวงศ์และการปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เพิ่มขึ้น
 1.5 คณะราษฎรผู้เปลี่ยนแปลงการปกครอง คณะราษฎรเป็นชื่อที่คณะผู้ก่อการปฏิวัติเรียกตนเอง ประกอบด้วย
                1) ฝ่ายทหาร มีบุคคลสำคัญ คือ พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน) เป็นหัวห้าคณะปฏิวัติซึ่งรับผิดชอบในด้านการวางแผน อำนายการและดำเนินการใช้กำลังเข้ายึดอำนาจการปกครอง พ.อ.พระยาทรงสุรเดช (เทพ พันธุเสน) พ.อ.พระยาฤทธิอัคเนย์ (สละ เอมะศิริ) พ.ท.พระประศาสน์พิทยายุทธ(วัน ชูถิ่น) พ.ต.หลวงพิบูลยสงคราม (แปลก ขีตะสังคะ) ซึ่งเป็นกำลังสำคัญในการรวมพรรคพวก น.ต.หลวงสินุสงครามชัย (สินธุ์ กมลนาวิน) น.ต.หลวงศุภชลาศัย (บุง ศุภชลาศัย)
                2) ฝ่ายพลเรือน มีบุคคลสำคัญ คือ อำมาตย์ตรี หลวงประดิษฐ์มนูธรรม (นายปรีดี พนมยงค์) เป็นมันสมอง ของคณะราษฎร ซึ่งหน้าที่จัดร่างรัฐธรรมนูญและกำหนดลักษณะการบริหารต่างๆ ภายหลังการปฏิวัติ รองอำมาตย์เอก ประยูร ภมรมนตรี รองอำมาตย์เอก หลวงโกวิทอภัยวงศ์ (ควง อภัยวงศ์)
 1.6 นโยบายของคณะราษฎร ได้แก่ หลัก 6 ประการ ซึ่งประกอบด้วย
                1) จะต้องรักษาความเป็นเอกราชทั้งหลาย เช่น เอกราชในทางการเมือง ในทางการศาล ในทางเศรษฐกิจ ฯลฯ ของประเทศไว้ให้มั่นคง
                2) จะต้องรักษาความปลอดภัยในประเทศให้การประทุษร้ายต่อกันลดน้อยลงให้มากและสร้างความสามัคคี
                3) จะต้องบำรุงความสุขสมบูรณ์ของราษฎรให้ทางเศรษฐกิจ โดยรัฐบาลใหม่จะหางานให้ราษฎรทุกคนทำ จะวางโครงการเศรษฐกิจแห่งชาติ ไม่ปล่อยให้ราษฎรอดยาก
                4) จะต้องให้ราษฎรมีสิทธิเสมอภาคกัน หมายถึง สิทธิเสมอกันทางกฎหมาย จึงได้มีการยกเลิกบรรดาศักดิ์แต่นั้นมา
                5) จะต้องให้ราษฎรได้มีเสรีภาพ มีความเป็นอิสระ เมื่อเสรีภาพนี้ไม่ขัดต่อหลัก 4 ประการดังกล่าวข้างต้น
                6) จะต้องให้การศึกษาอย่างเต็มที่แก่ราษฎร เพราะการปกครองระบอบประชาธิปไตยจะดำเนินไปอย่างราบรื่นก็ต่อเมื่อราษฎรได้รับการศึกษาในระดับดี
 1.7 การพระราชทานรัฐธรรมนูญ ขณะที่คณะราษฎรได้ทำการปฏิบัติ เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475 นั้น พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงประทับอยู่ที่พระราชวังไกลกังวล อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ คณะราษฎรได้ทำหนังสือไปกราบบังคมทูลเชิญพระองค์เสด็จกลับกรุงเทพมหานคร เป็นพระมหากษัตริย์อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ พระองค์ทรงยอมรับข้อเสนอของคณะราษฎร เพราะทรงเห็นแก่ความสงบสุขของประชาราษฎร์ ไม่ต้องการเสียเลือดเนื้อกัน ถ้าเกิดจลาจลจะทำให้บ้านเมืองเสียหาย
                    นอกจากนี้นพระองค์ก็ทรงมีพระราชดำริที่จะพระราชทานรัฐธรรมนูญให้แก่ราษฎรอยู่แล้ว ซึ่งเป็นผลทำให้การเปลี่ยนแปลงการปกครองประสบผลสำเร็จ โดยไม่มีการใช้กำลังรุนแรงแต่อย่างใด พระองค์เสด็จกรุงเทพมหานคร ในวันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2475 คณะราษฎรได้นำพระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว ซึ่งอำมาตย์ หลวงประดิษฐ์มนูธรรม และคณะราษฎรบางคนได้ร่างขึ้น ทูลเกล้าฯ ถวายเพื่อให้พระองค์ลงพระปรมาภิไธย พระองค์จึงได้พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราวในวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ.2475 ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกของไทย
 1.8 รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว  สาระสำคัญของรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว พ.ศ.2475  มีดังต่อไปนี้
                1) พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขของประเทศ เป็นประธานของฝ่ายบริหาร ทรงมีพระราชอำนาจตามขอบเขตแห่งกฎหมาย
                2) อำนาจอธิปไตย แบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ นิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการ ซึ่งเดิมอยู่ภายใต้อำนาจของพระมหากษัตริย์ทั้งหมด โดยกระจายอำนาจไปยังสภาผู้แทนราษฎร คณะรัฐบาลและศาล
                3) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในระยะเริ่มแรก สมัยที่ 1 คณะราษฎรเป็นผู้จัดตั้งผู้แทนราษฎรชั่วคราวจำนวน 70 คน เป็นสมาชิกของสภา เมื่อถึงสมัยที่ 2 ภายใน 6 เดือน หรือเมื่อประเทศเป็นปกติเรียบร้อยให้มีสมาชิก 2 ประเภทคือ
                ประเภทที่ 1 ราษฎรเลือกตั้งจังหวัด 1 คนเป็นอย่างน้อย ถือเกณฑ์ผู้แทนราษฎร 1 คน ต่อราษฎร 100,000 คน
                ประเภทที่ 2 ได้แก่ ผู้เป็นสมาชิกในสมัยที่ 1 และผู้ได้รับเลือกเพิ่มเติม สมัยที่ 3 เมื่อราษฎรสอบไล่ได้ประถมศึกษาเกิดครึ่ง หรืออย่างช้าไม่เกิน 10 ปี สมาชิกประเภทที่ 2 เป็นอันยุติไม่มีอีกต่อไป
 1.9 เหตุการณ์หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ที่สำคัญคือ
                1) คณะราษฎรดำเนินการตามนโยบายที่กำหนดไว้ แต่ไม่บรรลุผลสำเร็จเท่าที่ควร ทั้งนี้เนื่องจากสาเหตุต่างๆ ดังนี้ คือ
                - คณะราษฎรเกิดความขัดแย้ง แย่งชิงอำนาจกันเอง ทำให้เกิดการปฏิวัติรัฐประหาร รวมทั้งกบฏค่อยครั้ง
                - คณะราษฎรเกิดความคิดเห็นแตกแยกกันในเรื่องโครงการพัฒนาเศรษฐกิจที่หลวงประดิษฐ์มนูธรรมเสนอขึ้นมา พระยามโนปกรณ์นิติธาดา ซึ่งเป็นนายกรัฐมนตรีคนแรก ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองได้โจมตีว่าโครงการดังกล่าวดำเนินตามหลักการของลัทธิคอมมิวนิสต์และปฏิเสธที่จะนำมาปฏิบัติ
                - ผู้แทนราษฎรมิได้มีบทบาทในฐานะเป็นตัวแทนของฝ่ายนิติบัญญัติที่เข้มแข็ง หากแต่เป็นเพียงส่วนประกอบของรัฐสภาให้ครบรูปตามระบอบประชาธิปไตยเท่านั้น ทั้งนี้เพราะฝ่ายรัฐบาลไม่เห็นความสำคัญของสถาบันนิติบัญญัติ
                - ประชาชนได้รับการศึกษาน้อย ยังไม่เข้าใจรูปแบบการปกครองระบอบประชาธิปไตย และการเข้ามามีส่วนร่วมในทางการเมืองการปกครอง
                        ภายหลังจากที่ได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวแล้ว รัฐบาลคณะราษฎรก็ทำการร่างรัฐธรรมนูญฉบับถาวร และในวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับถาวร ความสำคัญของรัฐธรรมนูญ มีดังต่อไปนี้
                1. พระมหากษัตริย์ดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้
                2.อำนาจอธิปไตยมาจากปวงชนชาวไทย พระมหากษัตริย์ซึ่งเป็นพระประมุข ทรงใช้อำนาจนี้แต่โดยบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ อำนาจอธิปไตยแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ นิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการ
                3. พระมหากษัตริย์ทรงใช้อำนาจนิติบัญญัติ โดยคำแนะนำและยินยอมของสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งอยู่ในตำแหน่งคราวละ 4 ปี มีสมาชิก 2 ประเภท จำนวนเท่ากันเป็นระยะเวลา 20 ปี โดยมีสมาชิก ประเภทที่ 1 ได้แก่ สมาชิกราษฎรเลือกตั้งเข้ามา ประเภทที่ 2 ได้แก่ สมาชิกที่พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง
                4. พระมหากษัตริย์ทรงใช้อำนาจบริหารทางคณะรัฐมนตรี ประกอบด้วยนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีอย่างน้อย 14 นาย (จากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร) อย่างมาก 24 นาย (ส่วนที่เกินจากขั้นต่ำจากผู้ที่มีความรู้ความชำนาญพิเศษ แม้มิได้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรก็ได้)
                5. พระมหากษัตริย์ทรงใช้อำนาจตุลาการทางศาล ซึ่งจัดตั้งตามกฎหมาย พิจารณาพิพากษาอรรถคดี
                2) วิกฤตการณ์หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ในช่วงระยะเวลาไม่ถึง 1 ปีของการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ได้เกิดความยุ่งยากทางการเมือง อันสืบเนื่องมาจากความคิดเห็นขัดแย้งในคณะรัฐบาลเกี่ยวกับเรื่องเค้าโครงการเศรษฐกิจของหลวงประดิษฐ์มนูธรรม พระยามโนปกรณ์นิติธาดา นายกรัฐมนตรีเห็นว่าเค้าโครงการเศรษฐกิจนี้ ดำเนินการตามหลักการของประเทศสังคมนิยม นอกจากนี้รัชกาลที่ 7 ยังได้มีพระบรมราชวินิจฉัยสอดคล้องกับพระยามโนปกรณ์นิติธาดา ในขณะเดียวกันพระยามโนปกรณ์นิติธาดาได้ออกคำสั่งห้ามข้าราชการและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเข้าเป็นสมาชิกสมาคมเกี่ยงข้องกับการเมือง ซึ่งเท่ากับจะเป็นการล้มคณะผู้ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ต่อมาในวันที่ 1 เมษายน พ.ศ.2476 พระยามโนปกรณ์นิติธาดาได้ประกาศพระราชกฤษฎีกา ยุบสภาผู้แทนราษฎร งดใช้รัฐธรรมนูญบางมาตรา และออกพระราชบัญญัติการกระทำเป็นคอมมิวนิสต์ ซึ่งเป็นผลให้หลวงประดิษฐ์มนูธรรมต้องเดินทางออกนอกประเทศเป็นการชั่วคราว ความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลกับคณะราษฎรจึงปรากฏเด่นชัดขึ้น ในที่สุด พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา จึงก่อการรัฐประหาร ยึดอำนาจรัฐบาล เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ.2476 และขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี อำนาจของคณะราษฎรก็ได้คืนกลับมาอีกครั้งหนึ่ง พร้อมกันนั้นหลวงประดิษฐ์มนูธรรมได้เดินทางกลับประเทศเข้าร่วมกับรัฐบาลชุดใหม่
                ความขัดแย้งระหว่างคณะราษฎรและกลุ่มผู้นิยมระบอบเก่า ทำให้พระองค์เจ้าบวรและพวกก่อการกบฏในเดือนตุลาคม พ.ศ.2476 เพื่อตั้งรัฐบาลใหม่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอย่างแท้จริง แต่ถูกฝ่ายรัฐบาลปรามได้ การกบฏครั้งนี้มีผลกระทบกระเทือนต่อพระราชฐานะของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทั้งๆ ที่ทรงวางพระองค์เป็นกลาง เพราะคณะราษฎรเข้าใจว่าพระองค์ทรงสนับสนุนการกบฏ ความสัมพันธ์ระหว่างรัชกาลที่ 7 และคณะราษฎรจึงร้าวฉานยิ่งขึ้น ในต้น พ.ศ.2477 รัชกาลที่ 7 ได้เสด็จไปรักษาพระเนตรที่ประเทศอังกฤษ และทรงสละราชสมบัติเมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ.2477 ต่อจากนั้นคณะรัฐบาลและสภาผู้แทนราษฎรได้ลงมติเห็นชอบกราบทูลเชิญพระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าอานันทมหิดล พระโอรสในสมเด็จฯเจ้าฟ้ากรมหลวงสงขลานครินทร์ขึ้นครองราชย์สมบัติเป็นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 8 จนกระทั่งสวรรคตเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 สมเด็จพระอนุชา คือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ได้ขึ้นครองราชย์สมบัติเป็นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 สืบมาจนถึงปัจจุบัน        
2. รัฐธรรมนูญหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง
                    2.1 การเปลี่ยนแปลงแก้ไขรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2475 ระหว่างที่ใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับ พ.ศ. 2475 นั้น ได้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวหลายคราวที่ สำคัญได้แก่
                            1) เปลี่ยนชื่อประเทศสยาม เป็นชื่อประเทศไทย พ.ศ. 2482
                            2) แก้ไขบทเฉพาะกาลในรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2475 ยืดกำหนดเวลาบทเฉพาะกาลออกไป คือให้มีสมาชิกสภาประเภท 2 ต่อไปเป็นเวลา 20 ปี นับตั้งแต่วันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475
                    2.2 การแก้ไขเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญ การปกครองตามระบอบประชาธิปไตย หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475 เป็นต้นมา ไม่ราบรื่นนัก มีการปฏิวัติรัฐประหารยึดอำนาจปกครองจากรัฐบาลหลังครั้ง ระบบการปกครองจึงก้าวหน้าได้อย่างเชื่องช้า มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญ ดังนี้
                              1) พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยาม (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.2475
                              2) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.ศ.2475
                              3) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2489
                              4) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.2490
                              5) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2492
                              6) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2475 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2495
                              7) ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2502
                              8) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2511
                              9) ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2515
                            10) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2517
                            11) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2519
                            12) ธรรมนูญการปกครองอาณาจักรไทย พ.ศ.2520
                            13) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2521
                            14) ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2534
                            15) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2534
                            16) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540

                           17) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย  พ.ศ.2550
             3. รัฐสภา
                    รัฐสภาประกอบด้วยวุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎร บางครั้งแยกกันประชุม แต่งบางครั้งประชุมร่วมกัน ประธานสภาผู้แทนราษฎรเป็นประธานรัฐสภา ประธานวุฒิสภาเป็นรองประธานรัฐสภา
                    สมาชิกวุฒิสภามีจำนวน 200 คน มาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชนโดยใช้จังหวัดเป็นเขตเลือกตั้ง โดยประชาชนทุกจังหวัดมีสิทธิเสมอกันในการออกเสียงเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาในแต่ละจังหวัดได้เพียงหนึ่งคน อยู่ในตำแหน่งคราวละ 6 ปี นับตั้งแต่วันเลือกตั้ง
                    สภาผู้แทนราษฎรประกอบด้วยสมาชิก 500 คน โดยเป็นสมาชิกซึ่งมาจากเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ(ปาร์ตี้ลิส) จำนวน 100 คน และสมาชิกมาจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งจำนวน 400 คน โดยคำนวณจากจำนวนราษฎรทั้งประเทศตามหลักฐานการทะเบียนราษฎรที่ประกาศในปีสุดท้ายก่อนที่มีการเลือกตั้งเฉลี่ยด้วยจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 400 คน ซึ่งจะได้เป็นเกณฑ์จำนวนราษฎรต่อสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหนึ่งคน และจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของแต่ละจังหวัดให้นำจำนวนราษฎรที่คิดคำนวณข้างต้นมาเฉลี่ยจำนวนราษฎรในจังหวัดนั้น จังหวัดใดมีราษฎรไม่ถึงเกณฑ์จำนวนราษฎรต่อสมาชิกหนึ่งคนให้มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้หนึ่งคน จังหวัดใดมีราษฎรเกินเกณฑ์จำนวนราษฎรต่อสมาชิกผู้แทนราษฎรเพิ่มอีกคนทุกจำนวนราษฎรที่ถึงเกณฑ์จำนวนราษฎรต่อสมาชิกราษฎรหนึ่งคน
                    เมื่อได้จำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครบทุกจังหวัดแล้ว แต่ยังไม่ถึง 400 คน จังหวัดใดที่มีเศษที่เหลือจากการคำนวณมากที่สุด ให้จังหวัดนั้นมีสมาชิกผู้แทนราษฎรเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งคนและให้เพิ่มสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามวิธีดังกล่าว แก่จังหวัดที่มีเศษที่เหลือจากการคำนวณในลำดับรองลงมาตามลำดับจนครบจำนวน 400 คน
                    3.1 คุณสมบัติของผู้มีสิทธิเลือกตั้งวุฒิสมาชิก และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
                            1) มีสัญชาติไทย แต่บุคคลผู้มีสัญชาติไทยโดยการแปลงสัญชาติต้องได้สัญชาติไทยมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี
                            2) มีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์ในวันที่ 1 มกราคม ของปีที่มีการเลือกตั้ง
                            3) มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตเลือกตั้งมาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 90 วันนับถึงวันเลือกตั้ง
                    3.2 บุคคลที่ไม่มีสิทธิเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
                            1) วิกลจริต หรือจิตฟั่นเฟือนในสมประกอบ
                            2) เป็นภิกษุ สามเณร นักพรต หรือนักบวช
                            3) อยู่ในระหว่างถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง
                    3.3 คุณสมบัติของผู้มีสิทธิรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผูแทนราษฎร
                            1) มีสัญชาติไทยโดยการเกิด
                            2) มีอายุไม่ต่ำกว่า 25 ปีบริบูรณ์ในวันเลือกตั้ง
                            3) สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า เว้นแต่เคยเป็นสมาชิกผู้แทนราษฎรหรือวุฒิสมาชิก
                            4) เป็นสมาชิกพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่งเพียงพรรคเดียวนับถึงวันสมัครรับเลือกตั้งเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 90 วัน
                            5) ผู้สมัครรับเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง แต้องมีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่ง
                                    (1) มีชื่อยู่ในทะเบียนบ้านในจังหวัดที่สมัครรับเลือกตั้งมาแล้วเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 1 ปี นับถึงวันสมัครรับเลือกตั้ง
                                    (2) เคยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดที่สมัครรับเลือกตั้งหรือเคยเป็นสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นในจังหวัดนั้น
                                    (3) เป็นบุคคลซึ่งเกิดในจังหวัดที่สมัครรับเลือกตั้ง
                                    (4) เคยศึกษาในสถานศึกษาที่ตั้งอยู่ในจังหวัดที่สมัครรับเลือกตั้งเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 2 ปีการศึกษา
                                    (5) เคยรับราชการหรือเคยมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในจังหวัดที่สมัครรับเลือกตั้งเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 2 ปี
                    3.4 คุณสมบัติของผู้มีสิทธิรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภา
                            1) มีสัญชาติไทย
                            2) มีอายุไม่ต่ำกว่า 40 ปีบริบูรณ์ในวันเลือกตั้ง
                            3) สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า
                            4) ผู้สมัครเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งต้องมีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่ง  ดังต่อไปนี้
                                    (1) มีชื่อยู่ในทะเบียนบ้านในจังหวัดที่สมัครรับเลือกตั้งมาแล้วเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 1 ปี นับถึงวันสมัครรับเลือกตั้ง
                                    (2) เคยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดที่สมัครรับเลือกตั้งหรือเคยเป็นสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นในจังหวัดนั้น
                                    (3) เป็นบุคคลซึ่งเกิดในจังหวัดที่สมัครรับเลือกตั้ง
                                    (4) เคยศึกษาในสถานศึกษาที่ตั้งอยู่ในจังหวัดที่สมัครรับเลือกตั้งเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 2 ปีการศึกษา
                                    (5) เคยรับราชการหรือเคยมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในจังหวัดที่สมัครรับเลือกตั้งเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 2 ปี
                    3.5 บุคคลผู้ที่ไม่มีสิทธิรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
                            1) ติดยาเสพติดให้โทษ
                            2) เป็นบุคคลล้มละลายซึ่งศาลยังไม่สั่งให้พ้นคดี
                            3) ต้องคำพิพากษาให้จำคุกตั้งแต่ 2 ปีขึ้นไป โดยพ้นโทษมายังไม่ถึง 5 ปีในวันเลือกตั้ง เว้นแต่ในความผิดอันได้กระทำโดยประมาท
                            4) เคยถูกไล่ออก ปลดออก หรือให้พ้นจากราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจเพราะทุจริตต่อหน้าที่ หรือถือว่ากระทำการทุจริตหรือประพฤติมิชอบในวงราชการ
                            5) เคยต้องคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดิน เพราะร่ำรวยผิดปกติ
                            6) เป็นข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งเงินเดือนประจำ นอกจากข้าราชาการเมือง
                            7) เป็นสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น
                            8) เป็นสมาชิกวุฒิสภา
                            9) เป็นพนักงานหรือลูกจ้างของหน่วยงานรัฐ รัฐวิสาหกิจ ราชการส่วนท้องถิ่น หรือเป็นเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ
                          10) เป็นกรรมการการเลือกตั้ง ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ตุลาการศาลปกคอรง กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจรติแห่งชาติ หรือกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน
                          11) อยู่ในระหว่างต้องห้ามมิให้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
                          12) เคยถูกวุฒิสภามีมติให้ถอดถอนออกจากตำแหน่ง และยังไม่พ้นกำหนด 5 ปีนับตั้งแต่วันที่วุฒิสภามีมติจนถึงวันเลือกตั้ง
                    3.6 บุคคลที่ไม่มีสิทธิรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภา
                            1) เป็นสมาชิกหรือผู้ดำรงตำแหน่งอื่นของพรรคการเมือง
                            2) เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือเคยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและพ้นจากการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว ยังไม่เกิน 1 ปี นับถึงวันสมัครับเลือกตั้ง
                            3) เคยเป็นสมาชิกวุฒิสภาตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้ในอายุของวุฒิสภาคราวก่อนการสมัครรับเลือกตั้ง
                            4) เป็นบุคคลต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้ง
ระบบกฎหมายและการศาล
                   
กฎหมาย สมัยรัชกาลที่ 7 ได้มีการร่างกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ประกาศใช้ พ.ศ.2478 การปฏิรูปกฎหมายได้ดำเนินการมาเรื่อยๆ จนกระทั่งเป็นที่ยอมรับของต่างชาติ ใน พ.ศ.2481 ไทยสามารถยกเลิกสิทธิสภาพนอกอาณาเขตได้อย่างเด็ดขาดและได้เอกสิทธิ์ทางการศาลอย่างสมบูรณ์ซึ่งตรงกับสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล
                    การศาล ใน พ.ศ.2478 สมัยรัชกาลที่ 7 ได้มีการประกาศใช้พระธรรมนูญศาลยุติธรรม แบ่งศาลออกเป็น 3 ชั้น คือ
                        1. ศาลชั้นต้น มีศาลแพ่ง ศาลอาญา ศาลจังหวัด ศาลแขวง ศาลคดีและเยาวชน
                        2. ศาลอุทธรณ์ พิจารณาคดีที่อุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งมาจากศาลชั้นต้น
                        3. ศาลฎีกา พิจารณาคดีที่ฎีกาคำพิพากษาหรือคำสั่งมาจากศาลอุทธรณ์ ในชั้นนี้คำพิพากษาหรือคำสั่งถือเป็นที่สุด









         

การเมืองการปกครองในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนกลาง

รัตนโกสินทร์ตอนกลาง
           เป็นช่วงเวลาปรับปรุงเปลี่ยนแปลงประเทศให้เข้าสู่ความทัน สมัย โดยรับอิทธิพลอารยธรรมตะวันตก เนื่องจากถูกคุกคามจากลัทธิจักรวรรดินิยมของชาติตะวันตก เป็นสมัยที่ประเทศ ไทยพัฒนาการเข้าสู่ความเป็นรัฐชาติ สมัยนี้เป็นสมัยแห่งการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงทั้งทางด้านการเมือง การปกครอง เศรษฐกิจ สังคม ศิลปวัฒนธรรม การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในสมัยนี้ คือ การเลิกทาสและการเปลี่ยนแปลงการปกครอง
           รัชกาลที่ 4 ทรงพิจารณาว่าประเพณีบางอย่างที่เคยปฏิบัติกันมาแต่เดิม เป็นประเพณีที่ล้าสมัย  จึงโปรดให้ยกเลิกประเพณีดังกล่าว    เช่น   ห้ามราษฎรเข้าใกล้ชิดรวมทั้งมีการยิงกระสุนเวลาเสด็จพระราชดำเนินและบังคับให้ราษฎรปิดประตูหน้าต่างบ้านเรือน           ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5 เมื่อพระองค์ทรงบรรลุนิติภาวะใน พ.ศ.2416 และทรงว่าราชการด้วยพระองค์เอง จึงทรงเริ่มปรับปรุงการปกครองซึ่งเรียกว่า "การปฏิรูปการปกครอง"  แบ่งเป็น 2 ระยะ คืด ตอนต้นรัชกาล  และตอนปลายรัชกาล 
          ทรงตั้งสภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน มีหน้าที่ในการออกกฎหมายและยกเลิกกฎหมาย รวมทั้งยกเลิกประเพณีโบราณต่างๆ ที่เห็นว่าไม่เหมาะสม ปรากฏว่าสภาทั้ง 2 ดำเนินงานไปได้ไม่นาน ก็ต้องหยุดชะงักเพราะเกิดเหตุการณ์ร้ายแรงที่เรียกว่า " วิกฤตการณ์วังหน้า "           เป็นความขัดแย้งระหว่างพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กับ กรมพระราชวังบวรวิชัยชาญ ซึ่งดำรงตำแหน่งวังหน้า อันเนื่องมาจาก ความหวาดระแวงซึ่งกันและกันจนเกือบจะมีการประทะกันระหว่างกัน ขึ้นในปลาย พ.ศ.2417 แต่ก็สามารถยุติลงได้   การปฏิรูปการปกครองในช่วงหลัง

  1.  กระทรวงมหาดไทย                      2.  กระทรวงกลาโหม            3.  กระทรวงต่างประเทศ                    4.  กระทรวงวัง            5.  กระทรวงเมือง (นครบาล)               6.  กระทรวงเกษตราภิบาล            7.  กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ             8.   กระทรวงยุติธรรม           
 9.  กระทรวงธรรมการ                       10.  กระทรวงโยธาธิการ            11. กระทรวงยุทธนาธิการ  (ต่อมารวมอยู่ในกระทรวงกลาโหม)            12. กระทรวงมุรธาธิการ   (ต่อมารวมอยู่ในกระทรวงวัง)         
          ส่วนกลางมีการจัดแบ่งหน่วยงานการปกครองออกเป็น 12 กรม ซึ่งต่อมาเปลี่ยนไปใช้คำว่า "กระทรวง" แทน และได้ประกาศตั้งเสนาบดีเจ้ากระทรวงต่างๆ ขึ้น ยุบตำแหน่งอัครมหาเสนาบดีและเสนาบดีจตุสดมภ์ทุกตำแหน่ง มีสิทธิเท่าเทียมกันในที่ประชุม ต่อจากนั้นได้ยุบกระทรวงและปรับปรุงเปลี่ยนแปลงเสียใหม่เหลือไว้เพียง 10 กระทรวง คือ          
          ส่วนภูมิภาค ยกเลิกการจัดเมืองเป็นชั้นเอก โท ตรี จัตวา เปลี่ยนเป็นการปกครองแบบเทศาภิบาล คือ รวมหัวเมืองหลายเมืองเข้าด้วยกันเป็นมณฑลๆ หนึ่ง โดยมีข้าหลวงเทศาภิบาล เป็นผู้ปกครองมณฑล ขึ้นตรงต่อกระทรวงมหาดไทย   มี  การแบ่งเขตการปกครองส่วนภูมิภาคออกเป็นเมือง(จังหวัด) อำเภอ ตำบล และหมู่บ้าน ตามลำดับ
           

การเมืองการปกครองในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น

การปกครองสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น
           สภาพทางการเมืองยังคงรูปแบบของระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์รูปแบบของสถาบันกษัตริย์สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น คลายความเป็นเทวราชาลงเป็นอย่างมาก ขณะเดียวกันก็กลับเน้นคติและรูปแบบของธรรมราชาขึ้นแทนที่ ซึ่งอิงหลักธรรมของพุทธศาสนา คือ ทศพิธราชธรรม
          พระมหากษัตริย์คือมูลนายสูงสุดที่อยู่เหนือมูลนายทั้งปวง การปกครองและการบริหารประเทศ ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นนั้น กล่าวได้ว่า รูปแบบของการปกครอง ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ยังคงยึดตามแบบฉบับที่สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ทรงวางระเบียบไว้ จะมีการเปลี่ยนแปลงก็เพียงเล็กน้อย
            เช่น ในสมัยรัชกาลที่ 1 โปรดฯ ให้คืนเขตการปกครองในหัวเมืองภาคใต้กลับให้สมุหกลาโหมตามเดิม ส่วนสมุหนายกให้ปกครองหัวเมือง ทางเหนือ ส่วนพระคลังดูแลหัวเมืองชายทะเล
            สำหรับการปกครองในส่วนภูมิภาคหรือการปกครองหัวเมือง แบ่งออกเป็นสองชั้นใหญ่ๆ ได้แก่ หัวเมืองชั้นในและหัวเมืองชั้นนอก การแบ่งหัวเมืองยังมีอีกวิธีหนึ่ง โดยแบ่งออกเป็น 4 ขั้น คือ เอก โท ตรี จัตวา ตามความสำคัญทางยุทธศาสตร์และราษฎร

           นโยบายที่ใช้ในการปกครองหัวเมืองในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น มีการเปลี่ยนแปลงเพื่อความกระชับยิ่งขึ้น     ตัดทอนอำนาจเจ้าเมืองในการแต่งตั้งข้าราชการที่สำคัญๆ ทุกตำแหน่ง โดยโอนอำนาจการแต่งตั้งจากกรมเมืองในเมืองหลวง นับเป็นการขยายอำนาจของส่วนกลาง โดยอาศัยการสร้างความจงรักภักดีให้เกิดขึ้นกับเจ้านายทั้งสองฝ่าย คือ ทั้งเจ้าเมือง และข้าราชการที่แต่งตั้งตนในส่วนกลาง
          การปกครองในประเทศราช ใช้วิธีปกครองโดยทางอ้อม ส่วนใหญ่จะปลูกฝังความนิยมไทยลงในความรู้สึกของเจ้านายเมืองขึ้น   ได้แก่   การนำเจ้านายจากประเทศราชมาอบรมเลี้ยงดูในฐานะพระราชบุตรบุญธรรม และ  ให้มีการแต่งงานกันระหว่างเจ้านายทั้งสองฝ่าย
         สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้ทรงปฏิรูปการปกครองแผ่นดินอย่างขนานใหญ่ ควบคู่ไปกับการปฏิรูปเศรษฐกิจและสังคม เช่น    การปรับปรุงระบบบริหารงานคลังและภาษีอากร     จัดตั้งกระทรวงต่างๆขึ้น เป็นต้น

การเมืองการปกครองในสมัยธนบุรี

การปกครองสมัยกรุงธนบุรี
พ.ศ. 2310 - 2325 
    การปกครองสมัยกรุงศรีอยุธยาได้สิ้นสุดลงใน พ.ศ. 2310 เมื่อพม่าสามารถยึดกรุงศรีอยุธยาไว้ได้ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงกู้เอกราชกลับคืน และทรงสถาปนาพระองค์ขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์และย้ายราชธานีมาอยู่ที่กรุงธนบุรี สำหรับการปกครองสมัยกรุงธนบุรียังคงใช้รูปแบบการปกครองสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นหลัก

การเมืองการปกครองในสมัยอยุธยาตอนปลาย

การปกครองสมัยอยุธยาตอนปลาย
  สมัยอยุธยาตอนปลาย เริ่มในสมัยพระเพทราชา สมัยนี้ยึดการปกครองแบบที่สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ทรงปรับปรุงแต่ได้แบ่งแยกอำนาจสมุหกลาโหมและสมุหนายกเสียใหม่ คือ
  สมุหกลาโหม     - ดูแลหัวเมืองฝ่ายใต้ทั้งหมดทั้งที่เป็นฝ่ายทหารและพลเรือน   
  สมุหนายก          - ดูแลหัวเมืองฝ่ายเหนือทั้งหมดที่เป็นฝ่ายทหารและพลเรือนรูปแบบการปกครอง   
                             การปกครองของอยุธยาใช้เรื่อยมาจนถึงรัชกาลที่ 5ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์จึงได้มีการปฏิรูปการปกครองเสียใหม่ 
         ได้แยกกิจการฝ่ายทหารและพลเรือนออกจากกัน แต่การกำหนดอำนาจบังคับบัญชาดูแลกิจการทั้งสองฝ่ายตามเขตพื้นที่ ซึ่งเป็นการถ่วงดุลอำนาจของขุนนางด้วยกัน เพื่อจะได้ไม่เป็นภัยต่อราชบัลลังก์และแบ่งเป็นหัวเมืองฝ่ายต่างๆ ดังนี้
    -       หัวเมืองฝ่ายเหนือ   ขึ้นตรงต่อสมุหนายก
    -       หัวเมืองฝ่ายใต้   ขึ้นตรงต่อสมุหพระกลาโหม
    -       หัวเมืองชายทะเลตะวันออก  ขึ้นตรงต่อเสนาบดีกรมคลัง

การเมืองการปกครองในสมัยอยุธยาตอนกลาง

การปกครองสมัยอยุธยาตอนกลาง
1991 - 2231
              การปกครองเริ่มตั้งแต่รัชกาลสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ เป็นต้นมา  หลังจากที่ได้ผนวกเอาอาณาจักรสุโขทัยมาเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรอยุธยา     โดยมีลักษณะสำคัญ 2 ประการคือ
          1. จัดการรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง
          2. แยกกิจการฝ่ายพลเรือนกับฝ่ายทหารออกจากกัน
การปกครองส่วนกลาง 
          สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ โปรดฯให้มีตำแหน่งสมุหกลาโหมรับผิดชอบด้านการทหาร นอกจากนี้ยังได้ทรงตั้งหน่วยงานเพิ่มขึ้นมา อีก 2 กรม คือ
            กรมมหาดไทย มีพระยาจักรีศรีองครักษ์เป็นสมุหนายก มีฐานะเป็นอัครมหาเสนาบดี มีหน้าที่ควบคุมกิจการพลเรือนทั่วประเทศ
            กรมกลาโหม มีพระยามหาเสนาเป็นสมุหพระกลาโหม มีฐานะเป็นอัครมหาเสนาบดี มีหน้าที่ควบคุมกิจการทหารทั่วประเทศ
           นอกจากนี้ใน 4 กรมจตุสดมภ์ที่มีอยู่แล้ว ทรงให้มีการปรับปรุงเสียใหม่ โดยตั้งเสนาบดีขึ้นมาควบคุมและรับผิดชอบในแต่ละกรมคือ
  กรมเมือง (เวียง)     มีพระนครบาลเป็นเสนาบดี
  กรมวัง                   มีพระธรรมาธิกรณ์เป็นเสนาบดี
  กรมคลัง                 มีพระโกษาธิบดีเป็นเสนาบดี
  กรมนา                   มีพระเกษตราธิการเป็นเสนาบดี
  การปกครองส่วนภูมิภาค
           สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงยกเลิกการปกครองแบบเดิมทั้งหมด แล้วจัดระบบใหม่ดังนี้
 1 .) หัวเมืองชั้นใน ยกเลิกเมืองหน้าด่านแล้วเปลี่ยนเป็นเมืองชั้นใน มีฐานะเป็นเมืองจัตวา ผู้ปกครองเมืองเหล่านี้เรียกว่า ผู้รั้ง พระมหากษัตริย์จะเป็นผู้แต่งตั้งขุนนางในกรุงศรีอยุธยา ทำหน้าที่ผู้รั้งเมือง ต้องรับคำสั่งจากในราชธานีไปปฏิบัติเท่านั้นไม่มีอำนาจในการปกครองโดยตรง
  2) หัวเมืองชั้นนอก (เมืองพระยามหานคร) เป็นหัวเมืองที่อยู่ภายนอกราชธานีออกไป จัดเป็นหัวเมืองชั้นตรี โท เอก ตามขนาดและความสำคัญของหัวเมืองนั้น เมืองเหล่านี้มีฐานะเดียวกันกับหัวเมืองชั้นใน คือขึ้นอยู่ในการปกครองจากราชธานีเท่านั้น
  3) หัวเมืองประเทศราช ยังให้มีการปกครองเหมือนเดิม มีแบบแผนขนบธรรมเนียมเป็นของตนเอง มีเจ้าเมืองเป็นคนในท้องถิ่นนั้น ส่วนกลางจะไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวในด้านการปกครอง แต่ต้องส่งเครื่องราชบรรณาการมาถวาย

   การปกครองส่วนท้องถิ่น แบ่งการปกครองเป็นหน่วยย่อย โดยแบ่งเป็น
  1) บ้าน หรือหมู่บ้าน มีผู้ใหญ่บ้าน มีผู้ว่าราชการเมืองเป็นหัวหน้า         จากการเลือกตั้งจากหลายบ้าน
  2) ตำบล เกิดจากหลายๆ หมู่บ้านรวมกันมีกำนันเป็นหัวหน้ามีบรรดาศักดิ์เป็น พัน 

  3) แขวง เกิดจากหลายๆ ตำบลรวมกัน มีหมื่นแขวงเป็นผู้ปกครอง
  4) เมือง เกิดจากหลายๆ แขวงรวมกัน มีผู้รั้งหรือพระยามหานครเป็นผู้ปกครอง
  ต่อมาในรัชกาลสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 ได้มีการปรับปรุงระเบียบการปกครองทางด้านการทหาร ได้แก่

  1. การจัดทำสารบัญชี (หรือสารบาญชี) เพื่อให้ทราบว่ามีกำลังไพร่พลมากน้อยเพียงใด
  2. สร้างตำราพิชัยสงคราม ซึ่งเป็นตำราที่ว่าด้วยการจัดทัพ      การเดินทัพ การตั้งค่าย การจู่โจมและการตั้งรับ ส่วนหนึ่งของตำราได้มาจากทหารอาสาชาวโปรตุเกส
  3. การทำพิธีทุกหัวเมือง ซักซ้อมความพร้อมเพรียงเพื่อสำรวจจำนวนไพร่พล (คล้ายกับพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณต่อธงชัยเฉลิมพลในปัจจุบัน)

วันพุธที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2553

การเมืองการปกครองในสมัยอยุธยาตอนต้น

การปกครองในสมัยอยุธยาตอนต้น
การปกครองของกรุงศรีอยุธยาตลอดระยะเวลาแห่งการเป็นราชธานีอันยาวนาน  มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการปกครองแตกต่างกันแต่ละยุคแต่ละสมัย  ซึ่งสามารถแบ่งรูปแบบการปกครองได้เป็น 3 ช่วง  คือ  สมัยอยุธยาตอนต้น  สมัยอยุธยาตอนกลาง  และสมัยอยุธยาตอนปลาย
          สมัยอยุธยาตอนต้น
               ในสม้ยนี้เป็นสมัยของการวางรากฐานอำนาจทางการเมืองการปกครอง  รวมทั้งเสริมสร้างความมั่นคงของอาณาจักร  ซึ่งยังมีอาณาเขตไม่กว้างขวางมากนัก  พระเจ้าอู่ทองทรงวางรากานการปกครองไว้  ดังนี้

               1.1  การปกครองส่วนกลาง (ราชธานี)
                         พระมหากษัตริย์แบ่งการปกครองเป็น 4 ส่วน  เรียกว่า  จตุสดมภ์  ให้แต่ละส่วนมีอำนาจหน้าที่  ดังนี้
                         1)  กรมเวียง  (กรมเมือง)  มีหน้าที่ดูแลความสงบเรียบร้อยของราษฎรทั่วราชอาณาจักร  เช่น  ปราบปรามโจรผู้ร้าย  นำตัวผู้ทำผิดมาลงโทษ  มีเสนาบดี  ตำแหน่ง  ขุนเวียง  หรือ  ขุนเมือง  เป็นหัวหน้า
                         2)  กรมวัง  มีหน้าที่จัดระเบียบเกี่ยวกับราชสำนัก  จัดงานพระราชพิธีต่าง ๆ  พิพากษาคดีความของราษฎร  มีเสนาบดีตำแหน่ง  ขุนวัง  เป็นผู้รับผิดชอบ
                         3)  กรมคลัง  มีหน้าที่จัดเก็บภาษีอากร  จัดหารายได้เพื่อใช้ในการบำรุงราชอาณาจักร  รับผิดชอบด้านการเงินและการต่างประเทศ  การแต่งสำเภาหลวงออกค้าขาย  มีเสนาบดีตำแหน่ง  ขุนคลัง  เป็นผู้รับผิดชอบ
                         4)  กรมนา  มีหน้าที่ดูแลเกี่ยวกับการทำมาหากินของราษฎร  เช่น  การทำนา  ทำไร่  ทำสวน  และจัดเตรียมเสบียงอาหารไว้ใช้ในยามศึกสงคราม  มีเสนาบดีตำแหน่ง  ขุนนา  เป็นผู้รับผิดชอบ
               1.2  การปกครองส่วนภูมิภาค

                         เป็นการปกครองหัวเมืองที่อยู่นอกเขตราชธานี  ซึ่งมีการแบ่งเมืองเป็นระดับชั้น  โดยมีกรุงศรีอยุธยาเป็นศูนย์กลาง
                         1)  เมืองหน้าด่าน  (เมืองลูกหลวง)  เป็นหัวเมืองที่อยู่รายรอบราชธานีและมีระยะทางไปมาถึงราชธานีได้ภายใน 2 วัน  มีความสำคัญในการป้องกันข้าศึกไม่ให้โจมตีถึงราชธานีได้ง่าย  พระมหากษัตริย์จะทรงแต่งตั้งให้พระราชโอรสหรือเจ้านายชั้นสูงไปปกครองแทนพระองค์  เพื่อเป็นการแบ่งเบาพระราชภาระด้านการปกครองในสมัยอยุธยาตอนต้นมีเมืองหน้าด่าน 

             ในสมัยพระเจ้าอู่ทอง  โปรดเกล้า ฯ ให้พระราเมศวร  ซึ่งเป็นพระราชโอรสไปครองเมืองลพบุรี  ซึ่งเป็นเมืองหน้าด่านทางทิศเหนือ  และโปรดเกล้า ฯ ให้ขุนหลวงพ่องั่ว  ซึ่งเป็นพระเชษฐาของพระมเหสีไปครองเมืองสุพรรณบุรี  ซึ่งเป็นเมืองหน้าด่านทางทิศตะวันตก
                         2)  หัวเมืองชั้นใน  เป็นหัวเมืองที่ถัดจากเมืองหน้าด่านออกไปอีก  เป็นเมืองรายรอบตามระยะทางคมนาคม  อยู่ไม่ไกลจากราชธานี  สามารถติดต่อถึงกันได้สะดวก  หัวเมืองชั้นในมีความสำคัญคือ  ในยามศึกสงครามจะนำกำลังทหารมาสมทบพระมหากษัตริย์จะทรงแต่งาตั้งเจ้าเมือง  กรมการเมือง  และคณะกรมการเมืองไปปกครองโดยขึ้นตรงต่อราชธานี  หัวเมืองชั้นในที่สำคัญ  มีดังนี้
                              ทิศเหนือ            เมืองาพรหมบุรี  อินทร์บุรี  สิงห์บุรี
                              ทิศใต้               เมืองเพชรบุรี
                              ทิศตะวันออก       เมืองปราจีนบุรี
                              ทิศตะวันตก         เมืองราชบุรี
                         3)  หัวเมืองชั้นนอก  (เมืองพระยามหานคร)  เป็นหัวเมืองที่มีขนาดใหญ่อยู่ห่างจากราชธานีออกไปตามทิศทางต่าง ๆ หัวเมืองชั้นนอกจะเป็นเมืองที่คอยปกป้องดูแลอาณาเขตด้านที่ตั้งอยู่  มีเจ้าเมืองเป็นผู้ปกครองสืบทอดต่อ ๆ กันมา  แต่ในบางครั้งเพื่อความมั่นคงของราชธานี  พระมหากษัตริย์ก็ทรงแต่งตั้งขุนนางจากกรุงศรีอยุธยาไปปกครอง  หัวเมืองชั้นนอกที่สำคัญ  มีดังนี้
                              ทิศเหนือ            เมืองพิษณุโลก
                              ทิศใต้               เมืองไชยา  เมืองนครศรีธรรมราช  เมืองพัทลุง
                              ทิศตะวันออก       เมืองนครราชสีมา  เมืองจันทบุรี
                              ทิศตะวันตก        เมืองตะนาวศรี  เมืองทวาย
                         4)  หัวเมืองประเทศราช  เป็นเมืองที่อยู่ห่างไกลนอกพระราชอาณาเขต  มีการปกครองอิสระแก่ตนเอง  ชาวเมืองเป็นชาวต่างประเทศ  เมืองเหล่านี้มีรูปแบบการปกครองตามวัฒนธรรมเดิมของตน  เจ้านายพื้นเมืองมีสิทธิ์ขาดในการปกครองดินแดนของตน  แต่ต้องแสดงตนว่ายอมอ่อนน้อมหรือเป็นเมืองประเทศราช  โดยการส่งเครื่องราช
บรรณาการมาถวายตามกำหนด  เป็นการแสดงความจงรักภักดีเมื่อเกิดศึกสงครามก็ส่งกำลังและเสบียงอาหารมาสมทบกับฝ่ายไทย  เมืองประเทศราชในสมัยนี้  ได้แก่  เขมร  มอญ  มะละกา



การเมืองการปกครองในสมัยกรุงสุโขทัย

การเมืองการปกครองสมัยสุโขทัย
 อาณาจักรสุโขทัยเมื่อแรกตั้งยังมีอาณาเขตไม่กว้างขวาง      มีจำนวนพลเมืองยังไม่มากและอยู่ในระหว่างการก่อร่าง
สร้างตัว  การปกครองในระยะแรกจึงยังเป็นการปกครองระบบแบบครอบครัว   ผู้นำของอาณาจักรทำตัวเหมือนบิดาของประชาชน  มีฐานะเป็นพ่อขุน  มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับประชาชน         ต่อมาหลังสมัยพ่อขุนรามคำแหงสถานการณ์ของบ้านเมืองเปลี่ยนแปลงไป  จึงเริ่มใช้การปกครองที่เป็นแบบแผนมากขึ้น  ความสัมพันธ์ระหว่างผู้นำกับประชาชนแตกต่างไปจากเดิม      ความพยายามที่จะเพิ่มพูนอำนาจของกษัตริย์ให้สูงทรงมีฐานะเป็นธรรมราชา และทรงใช้หลักธรรมมาเป็นแนวทางในการปกครอง
                            ลักษณะการปกครองในสมัยสุโขทัย
การปกครองในสมัยสุโขทัยแบ่งเป็น 2 ระยะคือ
1.      สมัยสุโขทัยตอนต้น   เริ่มตั้งแต่สมัยพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ ไปถึงสิ้นสมัยของพ่อขุนรามคำแหง
2.      สมัยสุโขทัยตอนปลายตั้งแต่สมัยพระยาเลอไทยไปถึงสมัยสุโขทัยหมดอำนาจ
                             การปกครองสมัยสุโขทัยตอนต้น ( พ.ศ. 1792  -1841 )
      หลังจากที่พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ได้สถาปนาอาณาจักรสุโขทัยขึ้นมาแล้วได้พยายามขจัดอิทธิพลของขอมให้หมดไปจึงได้จัดระบบการปกครองใหม่เป็นการปกครองแบบไทย ๆที่ถือว่าประชาชนทุกคนเป็นคนในครอบครัวเดียวกัน  โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นหัวหน้าครอบครัว คือ พระมหากษัตริย์ได้ปกครองประชาชนในฐานะบิดาปกครองบุตร หรือที่เรียกว่าการปกครองแบบปิตุราชาธิปไตย ซึ่งมีลักษณะที่สำคัญดังต่อไปนี้คือ
1.      รูปแบบการปกครองเป็นแบบราชาธิปไตย คือพระมหากษัตริย์ทรงมีฐานะเป็นผู้ปกครองสูงสุด ทรงเป็นผู้ใช้อำนาจอธิปไตย
2.      พระมหากษัตริย์มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับประชาชนเปรียบเสมือนบิดากับบุคร  ทำตัวเปรียบเสมือนหัวหน้าครอบครัว  พระมหากษัตริย์ในสมัยสุโขทัยตอนต้นจึงมีพระนามนำหน้าว่า พ่อขุน
3.      ลักษณะการปกครองระบบครอบครัวลดหลั่นกันเป็นชั้น ๆ นอกจากพระมหากษัตริย์ทำตัวเปรียบเสมือนบิดาของราษฎรแล้ว   ยังมีการจัดระบบการปกครอง  ดังนี้
-              ให้ครัวเรือนหลายครัวเรือนรวมตัวกันเป็น  บ้าน  อยู่ในความดูแลของ พ่อบ้าน ผู้อยู่ภายใต้การปกครองเรียกว่า   ลูกบ้าน
-              หลายบ้านรวมกัน   เป็น    เมือง  ผู้ปกครองเรียกว่า    ขุน
-              เมืองหลายเมืองรวมกันเป็น    อาณาจักร    อยู่ในการปกครองของ    พ่อขุน 
แสดงให้เห็นว่านอกจากพ่อขุนผู้เป็นประมุขสูงสุดแล้ว ยังมีผู้ปกครองที่ได้รับมอบหมายจากพ่อขุน
 ทำหน้าที่เป็นกลไกในการปกครองด้วย
4.      พระมหากษัตริย์ทรงยึดหลักธรรมทางศาสนาในการบริหารบ้านเมือง และทรงชักชวนให้ประชาชนปฏิบัติธรรม
 เพื่อที่จะสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข
 นอกจากนี้ในสมัยสุโขทัยตอนต้นยังมีการปกครองแบบทหารแอบแฝงอยู่ด้วยเนื่องจากในระยะแรกตั้งสุโขทัยมี
อาณาเขตแคบ ๆ ประชาชนยังมีน้อยดังนั้นทุดคนจึงต้องมีหน้าที่ในการป้องกันประเทศเท่าๆกันจึงกำหนดว่า
วลาบ้านเมืองปกติประชาชนต่างทำมาหากินแต่เวลาเกิดศึกสงคราม ชายฉกรรจ์ทุกคนต้องเป็นทหาร  โดยมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นจอมทัพ
                        การปกครองในสมัยสุโขทัยตอนปลาย       (พ.ศ. 1841-1981  )
     หลังจากที่พ่อชันรามคำแหงสวรรคตในพ.ศ. 1841แล้วอาณาจักรสุโขทัยเริ่มระส่ำระสายพระมหากษัตริย์รัชกาลต่อมาเริ่มอ่อนแอ  ไม่สามารถรักษาความมั่นคลของอาณาจักรไว้ได้   เมืองหลายเมืองแยกตัวออกไปเป็นอิสระ
          สภาพการเมืองภายในเกิดปัญหาการสืบราชสมบัติ  รูปแบบการปกครองแบบบิดาปกครองบุตรเริ่มเสื่อมสลายลง เนื่องจากสถาบันพระมหากษัตริย์ไม่มั่นคงเพียงพอ      จนกระทั่งสมัยพระยาลิไทย ซึ่งขณะนั้นปกครองอยู่ที่เมือง
         ศรีสัชนาลัยได้ยกกำลังเข้ายึดเมืองสุโขทัยและปราบศัตรูจนราบคาบบ้านเมืองจึงสงบลง
เมื่อพระมหาธรรมราชาที่ 1 ( ลิไทย ) ขึ้นครองราชย์สมบัติในปี 1890    ทรงตระหนักถึงความไม่มั่นคงภายใน  ประกอบกับเวลานั้นกรุงศรีอยุธยาที่ตั้งขึ้นมาใหม่กำลังแผ่ขยายอำนาจจนน่ากลัวจะเกิดอันตรายกับสุโขทัย
         พระมหาธรรมราชาที่ 1 ( ลิไทย )  ทรงเห็นว่าการแก้ปัญหาทางการเมืองด้วยการใช้อำนาจทางทหารอย่างเดียวนั้นไม่สามารถทำได้ เพราะอำนาจทางการทหารในสมัยของพระองค์นั้นไม่เข้มแข็งพอ  จึงทรงดำเนินพระราชกุศโลบาย โดยทรงทำนุบำรุงส่งเสริมพระพุทธศาสนา ทรงเป็นผู้ปฏิบัติธรรมเป็นตัวอย่าง และได้ทรงสร้างถาวรวัตถุทางพระพุทธศาสนาไว้ทั่วไปเพื่อเป็นที่เคารพบูชาของประชาชนให้เกิดเลื่อมใสศรัทธายึดหลักธรรมของพระพุทธศาสนาเป็นหลักในการดำเนินชีวิต     สร้างความสามัคคีกลมเกลียวกันในแผ่นดิน
       การปกครองที่อาศัยพระพุทธศาสนานี้เรียกว่าการปกครองแบบธรรมราชา  พระมหากษัตริย์จะทรงตั้งมั่นอยู่ในทศพิธราชธรรม      การปกครองแบบธรรมราชานี้ถูกนำมาใช้จนประทั่งสิ้นสุดสมัยสุโขทัย
                                

 การปกครองแบบกระจายอำนาจ
    เนื่องจากในสมัยพ่อขุนรามคำแหงอาณาจักรสุโขทัยมีอาณาเขตกว้างขวางมากที่สุด จึงจำเป็นต้องมีการปกครองแบบกระจายอำนาจโดยแบ่งหัวเมืองออกเป็น ชั้น ๆเพื่อกระจายอำนาจในการปกครองออกไปให้ทั่วถึง
     เมืองต่าง ๆในสมัยสุโขทัยแบ่งออกเป็น 4 ชั้น  แต่ละชั้นพระมหากษัตริย์ทรงใช้อำนาจในการปกครองดังนี้
   1. เมืองหลวง หรือเมืองราชธานี    อาณาจักรสุโขทัยมีเมืองสุโขทัยเป็นราชธานี เมืองหลวงหรือเมืองราชธานีมีพระมหากษัตริย์ปกครองเอง   เมืองราชธานี เป็นศูนย์กลางทางการปกครอง เศรษฐกิจ สังคม ศาสนาวัฒนธรรมประเพณี
 2   เมืองลูกหลวง หรือเมืองหน้าด่าน  เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าหัวเมืองชั้นใน  ตั้งอยู่รายรอบราชธานีทั้ง 4 ทิศ ห่างจากเมืองหลวงมีระยะทางเดินเท้า  2 วัน  เมืองลูกหลวงมีดังนี้
                      ทิศเหนือ                 ได้แก่        เมืองศรีสัชนาลัย
                      ทิศตะวันออก         ได้แก่        เมืองสองแคว  ( พิษณุโลก )
               ทิศใต้                       ได้แก่        เมืองสระหลวง    ( เมืองพิจิตรเก่า  )
               ทิศตะวันตก              ได้แก่       เมืองนครชุม     ( กำแพงเพชร )   
 เมืองลูกหลวงมีความสำคัญรองมาจากเมืองหลวง   ผู้ที่ถูกส่งไปปกครองคือเจ้านายเชื้อพระวงษ์
3. เมืองพระยามหานคร เป็นหัวเมืองชั้นนอก ห่างจากเมืองราชธานีออกไปมากกว่าเมืองลูกหลวง  พระมหากษัตริย์จะทรงแต่งตั้งขุนนางชั้นผู้ใหญ่หรือผู้ที่เหมาะสมและมีความสามารถไปปกครองดูแลเมืองเหล่านี้โดยขึ้นตรงต่อพระมหากษัตริย์ มีวิธีการปกครองเช่นเดียวกับหัวเมืองชั้นใน เมืองพระยามหานครในสมัยสุโขทัย    เช่น เ มืองพระบาง  (นครสวรรค์ ) เมืองเชียงทอง ( อยู่ในเขตจังหวัดตาก )เมืองบางพาน ( อยู่ในเขตจังหวัดกำแพงเพชร )    เป็นต้น
4. เมืองประเทศราช       ได้แก่เมืองที่อยู่นอกอาณาจักร ชาวเมืองเป็นชาวต่างชาติต่างภาษาพระมหากษัตริย์ทรงดำเนินนโยบายในการปกครองคือให้เจ้านายพื้นเมืองเดิมเป็นเจ้าเมืองปกครองกันอง  โดยไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับการปกครองภายใน  ยกเว้นกรณีที่จำเป็นเท่านั้น ยามปกติเมืองประเทศราชต้องส่งเครื่องราชบรรณาการมาถวายพระมหากษัตริย์สุโขทัยทุก 3 ปี     ยามสงครามต้องส่งกองทัพและเสบียงอาหารมาช่วย   สมัยพ่อขุนรามคำแหงมีเมืองประเทศราชหลายเมืองดังต่อไปนี้คือ
       ทิศเหนือ                                 ได้แก่         เมืองแพร่ เมืองน่าน
       ทิศตะวันตก                            ได้แก่         เมืองทะวาย เมืองเมาะตะมะ เมืองหงสาวดี
       ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ         ได้แก่          เมืองเซ่า   ( หลวงพระบาง )         เมืองเวียงจันทน์
       ทิศใต้                                       ได้แก่          เมืองนครศรีธรรมราช  เมืองมะละกา เมืองยะโฮร์