วันพฤหัสบดีที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2553

การเมืองการปกครองในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนกลาง

รัตนโกสินทร์ตอนกลาง
           เป็นช่วงเวลาปรับปรุงเปลี่ยนแปลงประเทศให้เข้าสู่ความทัน สมัย โดยรับอิทธิพลอารยธรรมตะวันตก เนื่องจากถูกคุกคามจากลัทธิจักรวรรดินิยมของชาติตะวันตก เป็นสมัยที่ประเทศ ไทยพัฒนาการเข้าสู่ความเป็นรัฐชาติ สมัยนี้เป็นสมัยแห่งการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงทั้งทางด้านการเมือง การปกครอง เศรษฐกิจ สังคม ศิลปวัฒนธรรม การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในสมัยนี้ คือ การเลิกทาสและการเปลี่ยนแปลงการปกครอง
           รัชกาลที่ 4 ทรงพิจารณาว่าประเพณีบางอย่างที่เคยปฏิบัติกันมาแต่เดิม เป็นประเพณีที่ล้าสมัย  จึงโปรดให้ยกเลิกประเพณีดังกล่าว    เช่น   ห้ามราษฎรเข้าใกล้ชิดรวมทั้งมีการยิงกระสุนเวลาเสด็จพระราชดำเนินและบังคับให้ราษฎรปิดประตูหน้าต่างบ้านเรือน           ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5 เมื่อพระองค์ทรงบรรลุนิติภาวะใน พ.ศ.2416 และทรงว่าราชการด้วยพระองค์เอง จึงทรงเริ่มปรับปรุงการปกครองซึ่งเรียกว่า "การปฏิรูปการปกครอง"  แบ่งเป็น 2 ระยะ คืด ตอนต้นรัชกาล  และตอนปลายรัชกาล 
          ทรงตั้งสภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน มีหน้าที่ในการออกกฎหมายและยกเลิกกฎหมาย รวมทั้งยกเลิกประเพณีโบราณต่างๆ ที่เห็นว่าไม่เหมาะสม ปรากฏว่าสภาทั้ง 2 ดำเนินงานไปได้ไม่นาน ก็ต้องหยุดชะงักเพราะเกิดเหตุการณ์ร้ายแรงที่เรียกว่า " วิกฤตการณ์วังหน้า "           เป็นความขัดแย้งระหว่างพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กับ กรมพระราชวังบวรวิชัยชาญ ซึ่งดำรงตำแหน่งวังหน้า อันเนื่องมาจาก ความหวาดระแวงซึ่งกันและกันจนเกือบจะมีการประทะกันระหว่างกัน ขึ้นในปลาย พ.ศ.2417 แต่ก็สามารถยุติลงได้   การปฏิรูปการปกครองในช่วงหลัง

  1.  กระทรวงมหาดไทย                      2.  กระทรวงกลาโหม            3.  กระทรวงต่างประเทศ                    4.  กระทรวงวัง            5.  กระทรวงเมือง (นครบาล)               6.  กระทรวงเกษตราภิบาล            7.  กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ             8.   กระทรวงยุติธรรม           
 9.  กระทรวงธรรมการ                       10.  กระทรวงโยธาธิการ            11. กระทรวงยุทธนาธิการ  (ต่อมารวมอยู่ในกระทรวงกลาโหม)            12. กระทรวงมุรธาธิการ   (ต่อมารวมอยู่ในกระทรวงวัง)         
          ส่วนกลางมีการจัดแบ่งหน่วยงานการปกครองออกเป็น 12 กรม ซึ่งต่อมาเปลี่ยนไปใช้คำว่า "กระทรวง" แทน และได้ประกาศตั้งเสนาบดีเจ้ากระทรวงต่างๆ ขึ้น ยุบตำแหน่งอัครมหาเสนาบดีและเสนาบดีจตุสดมภ์ทุกตำแหน่ง มีสิทธิเท่าเทียมกันในที่ประชุม ต่อจากนั้นได้ยุบกระทรวงและปรับปรุงเปลี่ยนแปลงเสียใหม่เหลือไว้เพียง 10 กระทรวง คือ          
          ส่วนภูมิภาค ยกเลิกการจัดเมืองเป็นชั้นเอก โท ตรี จัตวา เปลี่ยนเป็นการปกครองแบบเทศาภิบาล คือ รวมหัวเมืองหลายเมืองเข้าด้วยกันเป็นมณฑลๆ หนึ่ง โดยมีข้าหลวงเทศาภิบาล เป็นผู้ปกครองมณฑล ขึ้นตรงต่อกระทรวงมหาดไทย   มี  การแบ่งเขตการปกครองส่วนภูมิภาคออกเป็นเมือง(จังหวัด) อำเภอ ตำบล และหมู่บ้าน ตามลำดับ
           

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น